PePLink Balance 30 คือ อุปกรณ์ load balancing สำหรับ SME ที่ต้องการความแน่นอนในเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทไม่ว่าจะเป็น ความเร็ว, เสถียรภาพ , ความปลอดภัย เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น

บทสรุปของผู้บริหารไอที

สินค้า

PePLink Balance 30

 

คุณลักษณะ

Multi-Wan Gateway Router มาพร้อมกับ Load Balancing และ Firewall

 

จุดเด่น

  • 3 WAN Ports สำหรับ Internet redundancy and diversity
  • Sophisticated load balancing and fail-over options
  • ง่ายต่อการติดตั้งกับระบบเน็ตเวิรค์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

 

จุดด้อย

  • ไม่มี Gigabit Ethernet
  • ไม่มี VPN

 

ปรกติในท้องตลาดส่วนมากจะมี Load Balance ที่มี 2 WAN ports เป็นส่วนใหญ่ แต่ PePLink Balance 30 นี้จะมีถึง 3 WAN ports ซึ่งจะสามารถรองรับอินเตอร์เน็ทคอนเน็คชั่น ได้ถึง 3 ISP เลยทีเดียว ซึ่งเป็นจุดเด่นของ PePLink Balance 30 ที่จะทำให้ธุรกิจของคุณไม่ต้องกังวลเรื่องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทอีกต่อไป PePlink Balance 30 สนับสนุนสูงสุดได้ถึง 3 WAN อินเตอร์เฟส และไม่มีข้อจำกัดด้วยว่าคุณจะต่ออินเตอร์เน็ทด้วยสื่อใด ไม่ว่าจะเป็น ADSL, LEASE LINE, SATELLITE, WWAN, WiFi หรือ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ถ้าคุณเชื่อมต่อด้วย ADSL นั้น ตัว PePLink Balance 30 สามารถติดตั้งเพิ่มเข้าไประหว่าง Internet Router และ ระบบ LAN ได้อย่างง่ายดายด้วย “Drop-in-Mode” ซึ่งจะทำให้คุณสามารถ configuration รายละเอียดได้อย่างง่ายดาย

รายละเอียดของตัวอุปกรณ์

PePLink Balance 30 จะเป็นกล่องพลาสติกสีดำขนาด 9.57" x 6.25" x 1.26" ส่วน power supply จะอยู่ด้านนอก น้ำหนักเบามาก แสงไฟอินดิเคเตอร์จะอยู่ด้านหน้าตามภาพที่1 ซึ่งจะแสดงสัญญาลักษณ์ต่างๆ ภาพที่2 จะเป็นภาพด้านหลังที่แสดง port ต่างๆ

front

ภาพที่1


rear

ภาพที่2


top2

ภาพที่3


ส่วนภาพที่3 จะแสดงรายละเอียดเมนบอร์ดของอุปกรณ์ จากภาพจะเห็นว่า ตัว CPU และ LAN Switch จะเป็นแบบ System on Chip Circuit จาก Micrel ด้วยความเร็ว 166 MHz และมี RAM 256MB SDRAM


flashdrives

ภาพที่4


ภาพที่4 จะแสดงรายละเอียดความสามารถในการตรวจสอบเมื่อมี new firmware รุ่นล่าสุดออกมาจากผู้ผลิต


รายละเอียดเกี่ยวกับ NETWORK - WAN

ในแต่ละ WAN อินเตอร์เฟสนั้นสนับสนุนทั้ง Static หรือ DHCP แบบ Ethernet PPPoE หรือ GRE configurations และ Dynamic DNS จะสนับสนุน changeip.com, dyndns.org และ no-ip.org ในส่วนของ GRE (Generic Routing Encapsulation) เป็น WAN Option สำหรับผู้ให้บริการแบบ VPN


ภาพที่5 จะเป็นตัวอย่างเมนูสำหรับ WAN อินเตอร์เฟส ซึ่งเป็นหน้าจอสำหรับการ configuration อุปกรณ์นี้


wan

ภาพที่5


ในการเซ็ทอัพระบบ WAN นั้น คุณสามารถเลือกได้ว่าจะเชื่อมต่อทุก WAN โดยใช้ Load Balancing หรือ จะให้ WAN บางส่วนทำเป็น Backup Link ก็ได้


loadbal

ภาพที่6


ภาพที่6 จะแสดง option การเซ็ทอัพ Load Balancing Policy ถ้าเลือกเป็น High Application Compatibility จะทำให้ข้อมูลทั้งหมดวิ่งจาก PC ไปที่ WAN Port เส้นเดียวเท่านั้น ตัวอย่าง เรามีคอมพิวเตอร์ 10 เครื่อง โดยให้ 5 เครื่องแรก ให้วิ่งไปออกอินเตอร์เน็ทที่ WAN1 และ ให้อีก 5 เครื่อง ให้วิ่งไปออกอินเตอร์เน็ทที่ WAN2 เป็นต้น

ถ้าเลือกเป็น Normal Application Compatibility จะทำให้ข้อมูลทั้งหมดวิ่งจาก PC ไปที่ WAN 1-3 แล้วแต่ว่า WAN ไหนจะว่าง เพราะนี่คือหน้าที่สำคัญของ Load Balancing ในการบริหารจัดการช่องทาง traffic ซึ่งจะเป็น default mode และให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ตัวอย่างเช่น เครื่องของคุณกำลังเปิดเว็บ web1 อยู่ โดยใช้ช่อง WAN1 แต่พอคุณเปิดเว็บ web2 เครื่องของคุณอาจจะดึงข้อมูลจาก WAN2 ซึ่งจะทำให้เครื่องของคุณใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ( เร็วทันใจในการใช้อินเตอร์เน็ท ) เพราะคุณจะเหมือนมีท่อสองเส้นในการเข้าถึงข้อมูล แต่เจ้าตัวนี้คุณสามารถเพิ่มท่อได้มากสุดถึง 3 ท่อ คิดดูแล้วกันครับ จะรวดเร็วทันใจขนาดไหน

ถ้าเลือกเป็น Custom Load Balancing ซึ่งจะทำให้คุณเซ็ทอัพได้อย่างใจต้องการในแต่ละ WAN อินเตอร์เฟส ไม่ว่าจะเป็น source, destination IP address, protocols, port number โดยสามารถเลือกจาก 1 ใน 4 ของ อัลกอลิธิม ที่ให้มาคือ Weighted, Persistent, Enforced และ Priority

Weighted อัลกอลิธิม จะทำการคำนวนการแบ่งทราฟฟิคแบบ weight ถั่วเฉลี่ยน้ำหนักไปทุกๆ WAN อินเตอร์เฟส Persistent อัลกอลิธิม จะใช้หลักของ High Application Compatibility ในบาง application ที่เราต้องการ และ/หรือ Normal Application Compatibility กับ application อื่นๆ Enforced อัลกอลิธิมนั้น จะอนุญาติให้ระบุเจาะจงลงไปแบบตรงๆกับ WAN อินเตอร์เฟนนั้นๆ และในส่วนของ Priority อัลกอลิธิมนั้น จะทำให้ข้อมูลวิ่งไปที่ WAN1 ก่อน แล้วค่อยวิ่งไปที่ WAN2 และ WAN3 เป็นลำดับกันไป

เราสามารถทำ WAN อินเตอร์เฟสเป็น Backup Link ได้อีกด้วย อาทิเช่น เราสามารถทำให้ WAN1 เป็นเส้นที่เราจะใช้งานจริง และ เซ็ทให้ WAN2 เป็น Backup ของ WAN1 และ ให้ WAN3 เป็น Backup ของ WAN2 ในเมื่อ WAN1 ดาวน์ ตัวอุปกรณ์ PePLink นี้จะทำให้ WAN2 ใช้งานแทน แล้วเมื่อ WAN2 ล่มอีก ก็จะใช้ WAN3 ใช้งานแทน โดยในการทดสอบการสลับ WAN นี้ใช้เวลาประมาณ 1 นาทีเท่านั้น


รายละเอียดเกี่ยวกับ Network - Drop-in Mode

Drop-in-Mode เป็นจุดเด่นที่น่าสนใจเพราะจะทำให้ PePLink สามารถใส่เข้าไปใน Network เดิมที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องแก้ไขอะไรเพิ่มเติม หรือ ต้องเปลี่ยนอะไรใหม่เลย ไม่ว่าจะเป็น IP address, การซ้ำซ้อนในค่าต่างๆของ router หรือ การแก้ไข router hop


dropin2

ภาพที่7


ภาพที่7 จะแสดงให้เห็นว่า Network Administrator จะมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนเลยทีเดียว เพราะว่า อุปกรณ์นี้จะสามารถเพิ่ม 1-2 WAN เข้าไปใน Network เดิมได้เลย โดยไม่ต้องแก้ไข configuration อะไรเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น router หรือ firewall ที่มีอยู่


รายละเอียดเกี่ยวกับ Network - Routing and Firewall

ด้วย 3 WAN อินเตอร์เฟส เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้สามารถเป็น router ระหว่าง subnet ที่ต่างกันได้ NAT สามารถ disable ได้ ในแต่ละ WAN อินเตอร์เฟส เท่าที่จำเป็น


ตัว PePLink 30 นี้จะมี Firewall มาให้ด้วย โดยจะทำการตรวจจับทั้ง outbound และ inbound traffic จากรูปที่8 rules สามารถเซ็ทได้ว่า จะอนุญาติ หรือ ปฎิเสธ outbound หรือ inbound traffic โดยดูจาก protocol, source IP, และ port addresses เป็นต้น โดย inbound rules นั้นสามารถสร้างและใช้กับ WAN อินเตอร์เฟสทั้งหมด หรือ ระบุเฉพาะเจาะจงได้ แต่ไม่สามารถระบุเป็นช่วงเวลาได้


firewall

ภาพที่8


สำหรับ Outbound rules นั้นจะเป็นเหมือนตัวกลั่วกรองเนื้อหาโดยระบุจาก IP address แต่เจ้าตัวนี้ไม่สามารถระบุเป็น URL ได้ เช่น คุณจะบล็อคไม่ให้พนักงานเปิด youtube.com คุณจะต้องระบุเป็น IP address ของ youtube.com แทนเป็นต้น


blockyt

ภาพที่9


ในการสร้าง rules สำหรับ กรองทราฟฟิค ทั้ง outbound และ inbound นั้น rules สามารถสร้างสำหรับ port forwarding ได้ แต่ port forwarding จะใช้ได้เมื่อคุณได้ enable NAT แต่จะไม่สามารถใช้ได้กับ IP Forwarding กับ WAN อินเตอร์เฟส


ftpforward

ภาพที่10


รายละเอียดเกี่ยวกับ Management

ประสิทธิภาพในการบริหาร WAN Links หลายๆเส้นอยู่ที่การบริหารข้อมูลได้อย่างดี ซึ่งตรงนี้ก็มีอยู่ในตัว PePLink Balance 30 แล้วคุณยังสามารถเข้าไปดู historical data ต่างๆ ได้จากเว็บไซค์ PePLink ที่จะเก็บข้อมูลต่างๆของอุปกรณ์ของคุณไว้

ในหน้า Link Usage นั้น จะมีข้อมูลบอกเกี่ยวกับจำนวน inbound และ outbound ในแต่ละ WAN อินเตอร์เฟส ตั้งแต่การ reboot ครั้งสุดท้าย และจะมีข้อมูลแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลที่โอนถ่ายผ่าน HTTP, HTTPS, IMAP, POP3, SMTP และ อื่นๆ


histreport2

ภาพที่11


ถ้าคุณต้องการเก็บข้อมูลประวัติการใช้งานต่างๆ คุณจะต้องเข้าไปลงทะเบียนที่เว็บไซค์ของ PePLink เพื่อนำ username และ password มาใส่ไว้ในตัวเจ้าอุปกรณ์นี้แล้วเมื่อเรียบร้อยแล้วรายงานต่างๆจะถูกนำส่งไป เก็บไว้ในเว็บไซค์ของ PePLink ต่อไป

รายงานด้านอื่นๆ และเครื่องมือที่มีประโยชน์อื่นๆ ก็จะมี Basic logging, writing log data to a syslog server, SNMP support และ แจ้งเตือนด้วย email เป็นต้น


อ่านรายละเอียด รีวิว PePLink Balance 30 จาก TechOops.com

 

 

 

 

 

 

 

ตารางเปรียบเทียบสินค้า

 

 
บริษัท ทรีกิ๊ก จำกัด 1585/1 จรัญสนิทวงศ์ 40 อรุญอัมรินทร์ บางยี่ขัน บางพลัด กรุงเทพฯ 10700